เทคนิคอล


บทนำ
"ตำราเล่มเดียวกันแต่ใช้กันทั่งโลก" วลีเด็ดซึ่งตรงกับสายเทคนิค แต่ในมุมมองของผมแล้วตรงแค่ครึ่งเดียวนะครับ เพราะเราจะเรียนรู้ในสิ่งที่ทุกคนรู้อยู่แล้ว จากนั้น!เราจะนำมาประยุกต์ใช้เป็นสูตรลับของตัวเราเอง  ซึ่ง50%ก็คือตามตำราอีก50%คือการประยุกต์ของเราเอง! ซึ่งจะสำเร็จหรือไม่มันก็ขึ้นอยู่กับ50%หลังนั้นละครับ  ตัวอย่างเส้นEMA ตามมาตรฐานก็คือ5,15,35  แต่นักเทคนิคบางท่านก็ใช้ 3,13ในการเทรดซึ่งประสบผลสำเร็จเพราะเหมาะกับลักษณะนิสัยและกระบวนการซื้อขายของเค้า  ดังนั้นในหน้า"เทคนิคอล"นี้ ผมจึงรวบรวมบทความดีๆมาไว้ในหัวข้อที่1 โดยมีครบทุกIndicatorที่เป็นที่นิยมตรงตามทฤษฏี ผมหวังว่าท่านผู้อ่านจะเรียนรู้Indicatorต่างๆ แล้วนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะแก่การซื้อขายของตัวท่านเองครับ

สารบัญ
1:รวมลิ้งบทความทุกIndicatorที่สำคัญ (แนะนำ)
2:Eliott Wave
3:How to trade in Stocks by Jesse Livermore 
4:VIX INDEX หรือดัชนีความกลัว
5:แนวรับและแนวต้าน (แนะนำ)
6:Bollinger-สัญญาณระเบิด

1.รวมลิ้งบทความทุกIndicatorที่สำคัญ
Dow Theory ต้นกำเนิดของเทคนิคอล!

Technical Analysisคืออะไร? รากฐานความเชื่อ3ประการ 

แนวโน้มของราคา 

Divergence จุดกลับตัว!! **สำคัญครับควรรู้ทุกคน** 

RSI แรงซื้อและแรงขาย

MACD แม่นยำจริงหรือ?

วิธีใช้Fibonacci Retracement

Trend line ความยิ่งใหญ่ที่แสนเรียบง่าย

ทำกำไรหุ้นSIDEWAYโดย STOCHASTICS 

เส้นEMAกับ ประโยชน์3ประการ! 

ADX เครื่องมือคู่ใจเทรดเดอร์ 

VAD วิธีดูว่าซื้อ หรือ ขาย กัน แรง หรือ อ่อน 

2.Eliott Wave


 Elliot Wave Theory เป็นทฤษฎีที่ถูกคิดค้นขึ้นโดย นาย Ralph Nelson Elliot และ ได้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกกับการวิเคราะห์ราคาหลักทรัพย์ โดย ทฤษฎีของนาย Elliot กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวของตลาดหลักทรัพย์ที่บางครั้งดูไร้ทิศทางนั้นไม่ได้เป็น เคลื่อนไหวแบบสุ่ม แต่เป็นการเคลื่อนไหวที่มีแบบแผนซ้ำไปซ้ำมา และ สะท้อนถึงการกระทำและความรู้สึกของมนุษย์ที่มีอิทธิพลมาจากปัจจัยภายนอก หรือ จิตวิทยาหมู่ ซึ่ง จะปรากฏเป็นรูปแบบของ ‘คลื่น’ ในกราฟราคา

ทฤษฎีในเบื้องต้น ของ Elliot กล่าวว่า ทุกการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์นั้นจะตามมาด้วย ปฏิกิริยาโต้ตอบเสมอ และ รูปแบบของการเคลื่อนไหวของราคาในช่วง ‘ขาขึ้น’ (Impulse Wave) ในหนึ่งวัฏจักรของราคานั้นจะสามารถถูกมองคร่าวๆเป็นการ ‘คลื่น’การเคลื่อนไหวทั้งหมด 5 คลื่นด้วยกัน ในขณะที่ รูปแบบของราคาช่วง ‘ขาลง’ (Corrective Wave) จะมีอยูด้วยกันทั้งสิ้น 3 คลื่น(A-B-C)
cr:afet.or.th/

ดาวโหลดไฟล์สอน Eliott Wave ฟรี!

3.How to trade in Stocks by Jesse Livermore
Jesse Livermore คือหนึ่งในนักเก็งกำไรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งเค้ามีฉายาว่า หมีใหญ่แห่งวอลสตรีท เพราะเค้าชอบเก็งกำไรในช่วงตลาดขาลง
 ซึ่งLivermore มีกฏหลักอยู่5ข้อคือ
1.อย่าขาดทุน
2.กำหนดจุดตัดขาดทุน(Cus Loss)
3.ต้องมีเงินสดสำรองเสมอ
4.อย่ารีบทำกำไร หรือLet Profit Run นั้นเอง
5.เมื่อได้กำไรต้องเก็บเงินสด     

ดาวโหลดหนังสือฟรี!
 
4.VIX INDEX หรือดัชนีความกลัว


ภาพจาก:Bloomberg วันที่23/09/12


หลายๆคนอาจยังไม่รู้จักว่ามันคืออะไร ง่ายๆครับมันคือดัชนีวัดความกลัวของคนตรงตามชื่อนั้น ยิ่งเยอะแปลว่าคนกลัว ยิ่งน้อยก็แปลว่าคนไม่ค่อยกลัว

ดัชนีมีความสำคัญอย่างไร? โดยส่วนใหญ่มันมีความความสัมพันธกับDJIA มีหลายๆ

ครั้ง ที่ลงต่ำมากๆทำนิวโลลงไป(คนกำลังกล้า) DJIAจะมีการปรับฐาน เช่นกันถ้าดัชนีความกลัวสูงมากๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็นจุดกลับตัวจากขาลงเป็นขาขึ้นของDJIA  ซึ่งดัชนีนี้ชาวต่างชาติให้ความสำคัญมากและสามารถดูได้ง่ายๆจากapplication CNBC RTของไอโฟน

ดูจากรูปดัชนีความกลัวต่ำลงมากๆในช่วงนี้ และมีลุ้นจะทำนิวโลลงไปอีก ซึ่งจากประวัตในรอบ5ปีดัชนีไม่เคยลงต่ำไปกว่า13 (วันที่23/09/12ดัชนี13.98จุด) อาทิตย์หน้ามีลุ้นทำนิวโลในรอบ5ปี อีกความหมายหนึ่งคือช่วงนี้เป็นช่วงที่คน"กล้า"มากสุดในรอบ5ปี ความคิดเห็นส่วนตัวของผมsetมีแนวโน้มว่าจะปรับฐาน(เล็กน้อย)ในเร็วๆนี้ครับ

3วันหลังจากที่โพสต์ข้อความนี้ วันที่26/9/12 SETร่วงจาก1290ลงไปปรับฐานที่1270

หมายเหตุ:Indicatorทุกตัวคือตัวบ่งชี้"ความน่าจะเป็น"นะครับ ไม่สามารถยืนยันอะไรได้100%



5.แนวรับและแนวต้าน
6วิธีตัวอย่างในการหาแนวรับแนวต้านคือ:
1:ทำTrend lineโดยแนวรับจะลากจากจุดต่ำสุดไปอีกจุดต่ำสุด และแนวต้านจะลากจากจุดสูงสุดไปจุดสูงสุดอีกจุดหนึ่ง ถ้าเป็นกราฟdayควรลากจากราคาปิด ถ้าเป็นกราฟweek,monthควรลากจากไส้เทียน  trend lineเหมาะสำหรับดูแนวโน้มราคาในภาพใหญ่ และเหมาะกับหุ้นBig Capหรือหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง ตัวอย่างตามรูปขางล่างนี้ครับ เส้นสีเหลืองคือTrend line  



2:จุดที่ราคาเป็นตัวเลขถ้วนๆสวยๆเช่น 40, 50, 100บาท เป็นแนวรับแนวต้านทางจิตวิทยาซึ่งไม่มีเหตุผลที่จับต้องได้แต่คนก็เอามาใช้/พูดถึงกัน ส่วนตัวผมไม่เชื่อในแนวรับแนวต้านนี้เช่นกัน

3:วิธีนี้เราดูแค่2จุดคือจุดสูงสุดเดิมและจุดต่ำสุดเก่า ซึ่งเราจะดูที่ราคาปิดไม่ดูที่ไส้เทียนเพราะไส้เทียนนี้อาจจะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ2-3นาทีที่ราคาเบรคมาได้ไม่มีนัยยะสำคัญ(ยกเว้นถ้าเป็นshooting star วอลุ่มเยอะๆให้ตีจากไส้เทียนแทน) ต่างจากราคาปิดที่มีคนซื้อขายเยอะ โดยวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องลากtrend line คุณแค่ดูกราฟแล้วดูจุดต่ำสุด(แนวรับ)จุดสูงสุด(แนวต้าน)แค่นี้พอ โดยดูแค่ช่วง3เดือนล่าสุดเพราะนานกว่านี้ไม่มีนัยยะสำคัญคนที่เคยติดหุ้นอาจปล่อยไปแล้วก็ได้ ยิ่งจุดต่ำสุด/สูงสุดใกล้กับปัจจุบันยิ่งมีนัยยะสำคัญ และvolumnคือตัวบอกว่าเป็นแนวรับแนวต้านที่แข็งแค่ไหน สำคัญที่สุดคือVOLUMEโกหกกันไม่ได้มีคนซื้อขายตรงจุดนั้นเยอะจริง

รูปตัวอย่างหุ้นPTTจากภาพโลเก่ารอบล่าสุดคือ 325ถือเป็นแนวรับ  หลังจากนั้นปิดหลุด325ราคาไหนลงต่อเนื่อง  

4:แนวรับทางจิตวิทยาจุดที่เปิดGAP(ช่องว่าง)ไว้ เช่นเมื่อวานปิด10 วันนี้เปิด11บาท 11บาทถือเป็นแนวรับถ้าหลุดมีร่วงยาวไปปิดGAPที่10บาท ในทางตรงกันข้ามถ้าเมื่อวานปิด10บาท วันนี้เปิดร่วงมา9บาท 9บาทถือเป็นแนวต้านจิตวิทยา สาเหตุหนึ่งที่เป็นแนวรับแนวต้านเพราะช่องว่าง10-11บาทหรือ10-9บาท นั้นไม่มีการซื้อขายทำให้ไม่มีคนถือต้นทุนราคาเท่านั้น ตัวอย่างเช่นเปิดGAPร่วงมา9บาท แล้วสัปดาห์ต่อมาราคากลับมาทดสอบแนวต้านที่9บาทแล้วสามารถเบรคขึ้นไปได้ ช่วงราคา9-10บาทเช่น 9.10 9.50 นั้นไม่มีใครมีต้นทุนเท่านี้อยู่จึงทำให้ราคาวิ่งต่อไปได้ง่าย เค้าจะเรียกกัว่าปิดGA
หมายเหตุ:ไม่เป็นจริงเสมอไปนะครับหลุดแนวต้านไปแล้วไม่สามารถปิดGAPได้กลายเป็นดอยใหม่แทนมีให้เห็นเยอะมาก และGAPจะเกิดเพราะ2เหตุผลหลักๆคือ 1:ข่าวดีหรือข่าวร้าย 2:จ่ายปันผล

 รูปตัวอย่างของหุ้นPATOครับ คำอธิบายในภาพคือ:1จุดแรกปิด11.70  2:เปิดGAPมาที่11บาทแล้วมีหลุดวิ่งไป11.30ล่อเม่าดอยแล้วร่วงยาว   3:ทะลุแนวต้าน11.30วิ่งมาปิดGAPที่11.70บาทภาพในวันแล้วร่วงยาว

5:ใช้เส้นEMAVเป็นแนวรับ แล้วแต่คนว่าจะใช้กี่วัน คนเล่นสั้นอาจใช้แค่5วัน คนเล่นยาวใช้60วัน(ตัวอย่าง)  EMAVเหมาะสำหรับช่วงเวลาLet profit run หุ้นวิ่งไม่ต้องสน ขายเมื่อหลุดเส้นEMAVที่เราตั้งไว้เท่านั้น
 ภาพตัวอย่างจากหุ้นSPALI ใช้เส้นสีเหลืองEMAVเป็นแนวรับครับ

6: ในกรณีที่หุ้นพุ่งขึ้นแรง(แท่งเขียวยาวๆ)ใน1วันพร้อมวอลุ่ม ให้ถือว่าราคาปิดวันนั้นเป็นแนวรับ ในทางตรงกันข้ามถ้าหุ้นลงแรงก็ถือว่าราคาปิดเป็นแนวต้าน    และเราสามารถใช้Fibonacci Retracementลากจากราคาเปิดไปจนถึงราคาปิดในวันนั้นๆเพื่อหาแนวต้านในอนาคตได้อีกด้วย


  ภาพตัวอย่างหุ้นBlandเราเอาแท่งเขียวยาวๆมาใช้ให้เป็นประโยชน์ โดยที่วันนั้นราคาปิด1.21 ถือเป็นแนวรับสำคัญ  และตีเส้นfiboได้แนวต้าน1.36, 1.45,1.60  ซึ่งตัวเลขFibo "161.8%"ถือเป็นแนวต้านสำคั

ข้อคิดสำคัญสำหรับแนวรับแนวต้าน
1:Volumeสำคัญที่สุด ยิ่งเยอะแปลว่ายิ่งมีนัยยะสำคัญ
2:ส่วนใหญ่คิดกันไปเอง บางทีแนวรับแนวต้านอาจจะไม่มีอยู่จริง
3:ต้องมีวินัยหลุด"แนวรับสำคัญ"ต้องcut loss
4:ราคาปิดจะconfirmทุกอย่าง ถ้าหลุดแนวรับแนวต้านระหว่างวันแต่ราคาปิดกลับมายืนได้ปกติไม่ต้องกังวล 
5:อย่าซื้อเมื่อหุ้นทะลุแนวต้าน...ระวังจะโดนหลอก...ควรดูIndicatorอื่นๆหรือปัจจัยพื้นฐานเพื่อตัดสินใจด้วย
 หมายเหตุ:Indicatorทุกตัวคือตัวบ่งชี้"ความน่าจะเป็น"นะครับ ไม่สามารถยืนยันอะไรได้100%

  6.Bollinger-สัญญาณระเบิด!

Bollinger(เส้นสีชมพูในรูป)  
1ราคาจะเป็นแนวโน้มขาขึ้น(ชั่วคราว) เมื่อแท่งเทียนอยู่ติดกับเส้นBollingerด้านบน และหุ้นจะมีแนวโน้มขึ้นต่อไปอีกซักพัก
2:ราคาจะเป็นแนวโน้มขาลง(ชั่วคราว) เมื่อแท่งเทียนอยู่ติดกับเส้นBollingerด้าน่าง และหุ้นจะมีแนวโน้มลงต่อไปอีกซักพัก


3:สามารถดูได้ว่าหุ้นจะ"ขึ้นแรง"หรือ"ลงแรง" วิธีดูคือให้ดูเส้นสีชมพูสองเส้น จะมีเส้นบนกับเส้นล่าง ถ้า2เส้นนี้บีบตัวเข้าหากันมากๆแปลว่ามันใกล้จะเลือกทาง ขึ้นแรงหรือ/ลงแรง! ดังที่คุณเห็นตามภาพจุดที่1เส้นbollingerบนล่าง บีบเข้าหากันและจากนั้นก็ระเบิดและราคาพุ่งขึ้นอย่างแรง เช่นกันกับจุดที่2และจุดที่3 bollingerบีบเข้ามาซึ่งเป็นสัญญาณว่ากำลังจะระเบิด และไม่กี่วันต่อมาหลังจากที่มันบีบเข้าหากันราคาก็พุ่งขึ้นอย่างแรงครับ

ก่อนที่คุณจะมองโลกในแง่ดีคิดว่าบีบเมือไรมันจะระเบิดแล้วหุ้นขึ้นแรง จึงนำอีกตัวอย่างหนึ่งซึ่งนี้คือกรณีที่bollingerบีบเข้ามาแล้วเกิดการระเบิด! หุ้นร่วงแรง! ดูจากภาพจุด1,จุด2และจุด3 bollingerบีบมาไม่กี่วันระเบิดเม่าตายกันเป็นแถบครับ

หมายเหตุ:Indicatorทุกตัวคือตัวบ่งชี้"ความน่าจะเป็น"นะครับ ไม่สามารถยืนยันอะไรได้100%

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น